หน้าเว็บ

หาดราไวย์

หาดราไวย์


000000

หาดราไวย์

หาดราไวย์เคยไปยัง

สวยนะว่างๆ ก็หาเวลาไปกันดู โดยเฉพาะยามพระอาทิตย์ตกดินนั้น สวยงามไม่แพ้หาดที่ไหน หรือจะไปหาซื้อของสดจากตลาดของชาวเลแถวนั้น ท่านจะได้ของถูก

เรื่องเล่าหาดราไวย์

มีเรื่องเล่าของหาดราไวย์ที่น่าสนใจ จริงแท้อย่างไร ไปลองดูเอาเอง เขาเล่ามาว่า พวกปลา พวกของทะเลจากตลาดแถวนั้นเขาไปซื้อต่อมาอีกทีจากแพปลา แล้วเอามาบอกว่าเป็นของที่จับได้เอง เพิ่งจับมาได้เลย

อันนี้ก็ไม่รู้ว่าเรื่องราวเป็นไง ไปดูกันเอาเอง

How to Get to Phuket

การเดินทางมาภูเก็ต

ทางเลือกในการเดินทางมาภูเก็ต, ประเทศไทย ภูเก็ตอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 862 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดภูเก็ตได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง และเครื่องบินโดยรถยนต์จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 2 เส้นทาง คือ

1. ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2 หรือถนนธนบุรี-ปากท่อ) ผ่านสมุทรสาคร สมุทรสงคราม อำเภอปากท่อ แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงชุมพร แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอหลังสวน อำเภอท่าฉาง แล้วแยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 401 ไปจนบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 4 ที่อำเภอตะกั่วป่า แยกซ้ายผ่านอำเภอท้ายเหมือง บ้านโคกกลอย แล้วข้ามสะพานสารสินเข้าสู่จังหวัดภูเก็ต

2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2 หรือถนนธนบุรี-ปากท่อ) ผ่านสมุทรสาคร สมุทรสงคราม อำเภอปากท่อ แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง พังงา ไปจนถึงภูเก็ต รวมระยะทางประมาณ 862 กิโลเมตรโดยรถประจำทางมีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-ภูเก็ต ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 12 ชั่วโมง

การเดินทางภายใน 

ภูเก็ตในตัวจังหวัดภูเก็ตมีรถชนิดต่างๆ ให้บริการ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะต่างๆ ได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสม

มอเตอร์ไซค์รับจ้าง มีจอดอยู่ตามจุดต่างๆ และมีรถตุ๊กตุ๊กและรถสองแถวบริการไปตามสถานที่ต่างๆ ทั่วเกาะภูเก็ต สามารถขึ้นรถได้บริเวณตลาดสดใกล้วงเวียนน้ำพุ ถนนระนอง ค่าโดยสารขึ้นอยู่กับระยะทาง นักท่องเที่ยวอาจเหมารถสองแถวไปเที่ยวได้ทั้งในเมืองและต่างอำเภอ คิดราคาขึ้นอยู่กับระยะทางและการต่อรอง

จากสนามบิน สามารถใช้บริการรถแท็กซี่เข้าตัวเมืองภูเก็ตหรือไปยังหาดต่างๆ ในอัตราค่าบริการตามระยะทาง และมีบริการ Airport Bus เข้าตัวเมืองภูเก็ต ส่วนในตัวเมืองก็มีบริการรถตู้ปรับอากาศและรถแท็กซี่รับส่งไปสนามบิน

ระยะทางจากอำเภอเมืองภูเก็ตไปยังอำเภอต่างๆ คือ

อำเภอกะทู้ 10 กิโลเมตร

อำเภอถลาง 19 กิโลเมตร

Phuket Local Food

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต

ภูเก็ตมีอาหารที่หลากหลายมาแล้วไม่คิดตะลองทานบ้างเหรอ

หมูฮ้อง หนึ่งในอาหารพื้นเมืองภูเก็ต
หมูฮ้อง หนึ่งในอาหารพื้นเมืองภูเก็ต

หมี่หุ้นป้าฉ่าง
เป็นอาหารพื้นเมืองของภูเก็ตอีกอย่างหนึ่งที่นิยมรับประทานกัน คือ หมี่หุ้นผัดซีอิ๊วโรยหน้าด้วยหอมเจียวกับกุยซ่ายรับประทานกับน้ำซุปกระดูกหมู ที่ได้ชื่อว่าหมี่หุ้นป้าฉ่างเพราะ คนคิดสูตรอาหารนี้ขึ้นมาคือ ป้าฉ่าง ที่โรงหนังเฉลิมตัน(เดิม) ปัจจุบันคือบริเวณสี่แยกถนนเยาวราชตัดกับถนนดีบุก คนภูเก็ตจึงเรียกติดปากว่า หมี่หุ้นปาฉ่าง มีร้านให้เลือกรับประทานอยู่หลายร้าน

หมี่ฮกเกี้ยน
เป็นเส้นหมี่เหลืองกลม ใหญ่กว่าเส้นหมี่ธรรมดาลักษณะและขนาดใกล้เคียงเส้นโซบะของญี่ปุ่นนำมาผัดซีอิ้ว โดยมากมักผัดรวมกับหมู ไก่ และผักกวางตุ้ง ให้มีน้ำพอขลุกขลิก บางร้านจะเสริฟพร้อมกับผักกาดหอม หัวหอมแดง ผักกุ้ยช่าย อาจจะใส่ไข่ไปด้วยก็ได้ หากเป็นหมี่ฮกเกี้ยนแบบน้ำ ความอร่อยจะอยู่ที่น้ำซุป ซึ่งจะมีความหวานของกุ้งผสมอยู่ มีร้านให้เลือกรับประทานอยู่หลายร้าน

โอ๊ะเอ๋ว
เป็นของหวานเหมือนวุ้นมากแต่ไม่ใช่วุ้น มีส่วนผสมหลัก คือ เมล็ดโอ๊ะเอ๋วกับกล้วยน้ำว้าสุก เขาใช้เพียงน้ำกล้วยกับเมือกของเมล็ดโอ๊ะเอ๋วเท่านั้น ใส่เจี่ยกอเพื่อให้ โอ๊ะเอ๋ว เกาะตัวเป็นก้อนเจี่ยกอตัวนี้แหละที่คนทำเต้าฮวยกับเต้าหู้ขาดไม่ได้ โอ๊ะเอ๋วมีสรรพคุณแก้ร้อนในเป็นอย่างดี ที่สำคัญมีขายที่เดียวในประเทศไทยมีร้านให้เลือกรับประทานอยู่หลายร้าน

โลบะ
เป็นอาหารว่างยามบ่ายของคนภูเก็ต เป็นอาหารประเภทที่เน้นเครื่องในหมู เพิ่มเติมด้วย เต้าหู้ทอด และเกี้ยนทอด ซึ่งเป็นหมูบะช่อใส่เครื่องเทศจีนปรุงรสแล้วห่อด้วยฟองเต้าหู้ กินพร้อมน้ำจิ้ม มีร้านให้เลือกรับประทานอยู่หลายร้าน

ขนมจีนภูเก็ต
นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า มีน้ำแกง ให้เลือกหลายประเภท เช่นน้ำยา แกงไตปลา แกงปู น้ำพริก น้ำชุป(น้ำพริกกุ้งสด) โดยรับประทาน กับผักนานาชนิดพร้อมทั้งไข่ต้ม ปาท่องโก๋ และห่อหมก มีร้านให้เลือกรับประทานอยู่หลายร้าน

ยี่หูเอ่งฉ่าย
อาหารพื้นเมืองอีกอย่างที่มีที่เดียวในประเทศไทย เป็นปลาหมึกฝานบางๆ ผัดกับหมูแดงในน้ำมัน โรยด้วยผักบุ้งหั่นฝอยราดด้วยน้ำซอส และโรยด้วยหมี่กรอบวางกุ้งชุบทอดอีกชั้นหนึ่ง มีร้านให้เลือกรับประทาน

หมี่สั่ว
เป็นอาหารเช้าของชาวภูเก็ต หมี่สั่วเป็นเส้นหมี่ชนิดหนึ่ง เส้นมีสีขาวขนาดเล็ก เมื่อโดนน้ำแล้วจะมีลักษณะนิ่ม วิธีการรับประทาน มักจะใช้การลวกหรือต้ม ใส่หมูสับ เครื่องในหมู ไข่ไก่ ทานในลักษณะเดียวกับต้มจืด ในอดีตมักจะปรุงหมี่สั่วให้หญิงคลอดบุตรใหม่ๆรับประทาน เพื่อเป็นอาหารบำรุงร่างกาย มักจะขายพร้อมกับข้าวต้มหรือโจ๊ก มีร้านให้เลือกรับประทานอยู่หลายร้าน

โอวต้าว
เป็นอาหารว่างสายฮกเกี้ยนปีนัง มีลักษณะคล้ายหอยทอด แต่แป้งจะมีลักษณะนุ่มกว่า ใช้หอยติบหรือหอยนางรมตัวเล็กและเผือกต้มสุกหั่นเป็นชิ้นขนาดลูกเต๋า เป็นเครื่องปรุงหลัก ผัดกับแป้งและไข่ บางคนเรียกว่าหอยทอดฮกเกี้ยน มีร้านให้เลือกรับประทานอยู่หลายร้าน

หมูฮ้อง..ราชาแห่งอาหารปุ้นเต่
หากเอ่ยถึงอาหารปุ้นเต่ หรืออาหารพื้นเมืองภูเก็ต ชื่ออันดับต้นๆที่เราจะคิดถึง ก็คงหนีไม่พ้น “หมูฮ้อง” ราชาแห่งอาหารปุ้นเต่ ก็เพราะว่าหมูฮ้อง นับเป็นอาหารจานหลักในหมูฮ้องที่อร่อย เนื้อหมูต้องนิ่ม แต่ไม่เหนียว ไม่เปื่อย รสหวานและเค็มนำเข้าถึงเนื้อหมู ทานเข้าปากแล้วจะหอมกระเทียมพริกไทย สำหรับเคล็ดลับความอร่อย แม่ครัวเก่าแก่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องทำเยอะๆ หมูฮ้องทำน้อยๆ จะกินให้อร่อยนั้นยาก ต้องเคี่ยวนานๆ ให้น้ำจากหมูออกมาผสมกับเครื่องหมักทั้งต่าวอิ๋ว ฉิ้วเฉ้ง หัวเทียม พริกไทย พอเค็มๆ และหวานบางๆจากน้ำตาลกรวดถ้าทำกินเองลำบาก ไม่มีเวลามานั่งเฝ้าเป็นชั่วโมงสองชั่วโมง แนะนำให้ไปลองชิมที่ร้านระย้าถนนดีบุกตัดใหม่ ที่นั่นเขาทำหมูฮ้องขึ้นชื่อที่หนึ่ง ทำทีเป็น 10 กิโล แขกไปใครมาต้องลองชิมแล้วต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้าน

ขนมอาโป๊ง
อาโป๊งเป็นขนมรับประทานกับชา กาแฟยามเช้า หรือหวันฉ่าย (ตอนบ่าย) ให้อยู่ท้องดับความหิว เป็นอาหารว่างง่ายๆได้อย่างหนึ่ง อาโป๊งทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาลทราย ไข่ไก่ เอาแต่ไข่แดง น้ำ น้ำกะทิ และยีสต์ผสมกันได้น้ำแป้งพักไว้ เวลาจะทานราดบนกระทะหลุมใบเล็ก กลิ้งน้ำแป้งให้เป็นแผ่นกลมทั่วกระทะ ทิ้งไว้บนเตาอั้งโล่ ควบคุมไฟปานกลาง ปิดฝาไว้สักพัก พอเหลืองลอกออกมาม้วนตั้งทิ้งไว้ แป้งแผ่นจะม้วนกลมอยู่ตัวกรอบแต่ตรงกลางนุ่มหนา

เกี่ยมโก้ย
เป็นขนมทำจากแป้งข้าวเจ้า โรยหน้าด้วยหอมเจียว ต้นหอม และกุ้งแห้งทอด กินกับน้ำจิ้มรสชาติเปรี้ยวเปรี้ยวหวานหวาน เกี่ยมโก้ยมักนิยมวางขายตามร้านกาแฟ จัดเป็นขนมพื้นบ้านชนิดหนึ่ง ที่ประชาชนนิยมซื้อหากินกับกาแฟเป็นอาหารมื้อเช้า เกี่ยมโก้ยที่วางขายส่วนใหญ่นิยมบรรจุคงรูปในถ้วยตะไล พร้อมด้วยน้ำจิ้ม ปรุงรสบรรจุในขวดแก้วใส สำหรับบริการให้แก่ผู้บริโภคทั่วไป เกี่ยมโก้ยเป็นขนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการ แป้งข้าวจ้าวให้คาร์โบไฮเดรต กุ้งให้แร่ธาตุ กระเทียมให้สรรพคุณทางสมุนไพร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ขอบคุณเนื้อหาดีดีจาก ภูเก็ตมีดี
ขอบคุณภาพสวยสวยจาก Phuket Menu

ประวัติ จังหวัดภูเก็ต

ประวัติ จังหวัดภูเก็ต

" ภูเก็ต " ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ขุดพบเครื่องมือหินและขวานหินเป็นการแสดงให้ทราบว่ามี มนุษย์อาศัยในดินแดนแถบนี้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี มาแล้วและได้มีหลักฐานการ กล่าวถึงดินแดนในแถบนี้อีกครั้ง เมื่อปี พ .ศ.700 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 2 ในบันทึกของนักเดินเรือ ชื่อ คลอดิอุส ปโตเลมี กล่าวถึงผืนดินหรือแผ่นดินในส่วนนี้ว่า แหลมตะโกลา เป็นผืนดินที่ถูกดันออกมาทางใต้กลายเป็นแหลมยาวๆ อยู่ส่วนปลายสุดของจังหวัดพังงา

อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ของเปลือกโลกขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า รอยเลื่อนคลองมารุย (Klong Marui Fault) ซึ่งวางตัวเป็นแนวยาวจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพังงา ลงมาทางทิศตะวันออกของภูเก็ต ต่อมาได้ถูกคลื่นลมในทะเลกัดเซาะ และตัดพื้นที่ดังกล่าวนี้ ออกจากผืนแผ่นดินใหญ่ จนกลายเป็นเกาะโดยเกิดร่องน้ำระหว่างจังหวัดภูเก็ตและพังงาขึ้น ที่เรียกว่า ช่องแคบปากพระ (เป็นร่องน้ำแคบ ๆ โดยส่วนที่ลึกที่สุดลึกเพียง 8-9 เมตร ) ในปัจจุบัน

แหลมพรหมเทพ

สำหรับการเรียกขานภูเก็ตของชาวต่างประเทศ ในอดีตนอกจากจะมีปรากฎในบันทึก เมื่อปี พ .ศ.700 ของนักเดินเรือ คลอดิอุส ปโตเลมี ที่เรียกผืนดินในบริเวณนี้ว่า แหลมตะโกลา แล้ว ได้มีปรากฎหลักฐานการกล่าวถึง ผืนดินในบริเวณนี้อีกครั้ง จากบันทึก และแผนที่การเดินเรือมาเอเชียตะวันออก ของชาติยุโรป ระหว่างพ.ศ.2054-2397 เรียกผืนดินนี้ว่า จังซีลอน

นอกจากนี้ ได้มีหลักฐานเกี่ยวกับการเรียกขาน ผืนดินนี้ของชาวทมิฬ์ในปี พ.ศ.1568 ว่า มณิคราม หมายถึง เมืองแก้ว ซึ่งมีความหมายตรงกับชื่อ ภูเก็จ ที่ปรากฎในจดหมายเหตุเมืองถลาง ฉบับที่ 1 ในปีพ.ศ .2328 และได้มีการเรียกขานเรื่อย ๆ จนกลายเป็น ภูเก็ต ซึ่งได้ปรากฎในราชกิจจานุเบกษา มาตั้งแต่ พ.ศ.2450 เป็นต้นมา ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ชื่อของจังหวัดภูเก็ตที่ได้มีการกล่าวขานตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันนั้น ประกอบด้วย แหลมตะโกลา มณิคราม จังซีลอน ภูเก็จ และภูเก็ต ซึ่งในบางครั้งได้มีการเรียกขานว่า สิลัน ถลาง และทุ่งคาร่วมด้วย